ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. กำหนดผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โดยอ้างอิงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๖๕เป้าประสงค์หลักในแต่ละระดับ (Milestone) ตามแนวทางของ Accreditation council for graduated medical education (ACGME) และพันธกิจของการฝึกอบรมกองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. โดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่จบการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามแผนงานฝึกอบรม ได้กำหนดผลสัมฤทธิ์/ระดับความสามารถระหว่างการฝึกอบรมที่ประสงค์ (intended learning outcomes/milestones) ที่ชัดเจนครอบคลุมประเด็น ๖ ด้านดังต่อไปนี้
๕.๑ การบริบาลผู้ป่วย (patient care)ได้แก่ การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานในสาขานั้นได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล สามารถแบ่งย่อยได้เป็น ๙ หัวข้อดังนี้
๕.๑.๑ การบริบาลเพื่อให้พ้นจากภาวะวิกฤต/ฉุกเฉิน Patient care 1 (PC1)สามารถให้การตรวจรักษาเพื่อให้พ้นจากภาวะวิกฤต/ฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ (stabilization) รวมถึงทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพในทุกกลุ่มอายุ ในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน
๕.๑.๒ ทักษะการซักประวัติและตรวจร่างกายที่ตรงประเด็น Patient care 2 (PC2)เพื่อให้
ได้ข้อมูลที่สำคัญ และสามารถระบุการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลในครั้งนี้
ออกจากการเจ็บป่วยเดิม
๕.๑.๓ การสืบค้นเพื่อการวินิจฉัย Patient care 3 (PC3) (Diagnostic studies)สามารถใช้ผลของการสืบค้นเพิ่มเติมช่วยในการวินิจฉัยโรคและการรักษาได้อย่างเหมาะสม
๕.๑.๔ การวินิจฉัย และวินิจฉัยแยกโรค Patient care 4 (PC4)สามารถให้การวินิจฉัย หรือวินิจฉัยแยกโรคได้ถูกต้องมีเหตุผล
๕.๑.๕ การให้รักษาด้วยยา Patient care 5 (PC5) (pharmacotherapy) สามารถเลือกและสั่งยาได้อย่างถูกต้องโดยมีความรู้ในด้านกลไกการออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง ความคุ้มค่า สิทธิ์การรักษา ผลกระทบกับ
ยาอื่น นโยบายของสถานพยาบาล แนวปฏิบัติสากล
๕.๑.๖ การประเมินซ้ำ Patient care 6 (PC6)การประเมินซ้ำ และการย้ายออกจากห้องฉุกเฉิน สามารถสังเกตอาการและการประเมินซ้ำ รวมถึงการปรับเปลี่ยนการวินิจฉัย และการรักษาตามข้อมูลที่ได้ใหม่ สามารถตัดสินใจจำหน่ายผู้ป่วยจากห้องฉุกเฉินอย่างเหมาะสม
๕.๑.๗ การทำงานในลักษณะพหุภารกิจ Patient care 7 (PC7)สามารถทำงานในลักษณะของพหุภารกิจได้
๕.๑.๘ ทักษะในการทำหัตถการฉุกเฉิน Patient care 8 (PC 8)สามารถทำหัตถการอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยที่มีความหลากหลายเช่น ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ มีโรคร่วมจำนวนมาก มีลักษณะทางกายวิภาคที่ผิดปกติไป โดยทราบและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
๕.๑.๙ การดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล Patient care 9 (PC9)เพื่อให้สามารถให้การบริบาลผู้ป่วยก่อนมาถึงโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๕.๒ ความรู้และทักษะเวชกรรม (medical knowledge and skill) MKสามารถทำเวชปฏิบัติได้อย่าง
ครอบคลุมและเหมาะสม
๕.๒.๑ ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ Medical knowledge 1 (MK 1) (Scientific knowledge) สามารถเข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของโรคหรือภาวะที่พบในเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
๕.๒.๒ ความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิก Medical knowledge 2 (MK2)ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาและการให้เหตุผลทางคลินิก (clinical reasoning)
๕.๓ การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (systems-based practice)
๕.๓.๑ ความปลอดภัยของผู้ป่วย Systems-based practice 1 (SBP 1)ความปลอดภัยของผู้ป่วย ความสามารถในการวิเคราะห์และบริหารจัดการในด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมถึงการสื่อสารกับญาติ และบุคลากรทางการแพทย์อื่น
๕.๓.๒ ระบบพัฒนาคุณภาพSystems-based practice 2 (SBP 2)การพัฒนาคุณภาพ (quality improvement) สามารถทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพได้
๕.๔ การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ(practice-based learning and improvement)
๕.๔.๑ การใช้เวชปฏิบัติเชิงหลักฐาน Practice-Based learning and improvement 1 (PBLI 1)สามารถนำเอาเวชปฏิบัติเชิงหลักฐานมาใช้ในการปฏิบัติ
๕.๔.๒ การพัฒนาตนเองจากประสบการณ์ทำงานและการสะท้อนการกระทำ Practice - based learning and improvement 2 (PBLI 2)สามารถสะท้อนการกระทำที่ผู้ปฏิบัติสามารถมองเห็นตนเองภายใต้บริบทจากประสบการณ์ของตนเอง ด้วยวิธีการเผชิญ เข้าใจ และแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานของตนเองทั้งที่ต้องการและจากการปฏิบัติจริง (reflective practice and commitment to personal growth)
๕.๕ ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism)รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต (continue medical education) หรือการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (continue professional development)
๕.๕.๑ การทำงานตามหลักจริยธรรมทางการแพทย์ Professionalism 1 (PF 1)professional behavior and ethical principles ทราบหลักการทางจริยธรรมทางการแพทย์ และรู้จักพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวิชาชีพ สามารถบริหารจัดการเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่มีความยากลำบากได้อย่างเหมาะสม
๕.๕.๒ ความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง Professionalism 2 (PF2)
accountability/conscientiousness มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง และผลกระทบต่อ
ผู้ป่วยรวมถึงเพื่อนร่วมงาน และหน่วยงาน
๕.๕.๓ ความสามารถในการพัฒนาตนเอง การดูแลตนเอง Professionalism 3 (PF3)
self-awareness and well-being
๕.๖ ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (interpersonal skills and communication)
๕.๖.๑ การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ Interpersonal and communication skills (ICS1) Patient and family centered communication สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติได้อย่างเหมาะสม
๕.๖.๒ การสื่อสารกับผู้ร่วมงานทุกระดับInterpersonal and communication skills (ICS2) Interprofessional and team communication สามารถสื่อสารกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม
กองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. กำหนดผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โดยอ้างอิงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิความรู้ความชำนาญสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๖๕เป้าประสงค์หลักในแต่ละระดับ (Milestone) ตามแนวทางของ Accreditation council for graduated medical education (ACGME) และพันธกิจของการฝึกอบรมกองตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. โดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่จบการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามแผนงานฝึกอบรม ได้กำหนดผลสัมฤทธิ์/ระดับความสามารถระหว่างการฝึกอบรมที่ประสงค์ (intended learning outcomes/milestones) ที่ชัดเจนครอบคลุมประเด็น ๖ ด้านดังต่อไปนี้
๕.๑ การบริบาลผู้ป่วย (patient care)ได้แก่ การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานในสาขานั้นได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล สามารถแบ่งย่อยได้เป็น ๙ หัวข้อดังนี้
๕.๑.๑ การบริบาลเพื่อให้พ้นจากภาวะวิกฤต/ฉุกเฉิน Patient care 1 (PC1)สามารถให้การตรวจรักษาเพื่อให้พ้นจากภาวะวิกฤต/ฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ (stabilization) รวมถึงทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพในทุกกลุ่มอายุ ในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน
๕.๑.๒ ทักษะการซักประวัติและตรวจร่างกายที่ตรงประเด็น Patient care 2 (PC2)เพื่อให้
ได้ข้อมูลที่สำคัญ และสามารถระบุการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลในครั้งนี้
ออกจากการเจ็บป่วยเดิม
๕.๑.๓ การสืบค้นเพื่อการวินิจฉัย Patient care 3 (PC3) (Diagnostic studies)สามารถใช้ผลของการสืบค้นเพิ่มเติมช่วยในการวินิจฉัยโรคและการรักษาได้อย่างเหมาะสม
๕.๑.๔ การวินิจฉัย และวินิจฉัยแยกโรค Patient care 4 (PC4)สามารถให้การวินิจฉัย หรือวินิจฉัยแยกโรคได้ถูกต้องมีเหตุผล
๕.๑.๕ การให้รักษาด้วยยา Patient care 5 (PC5) (pharmacotherapy) สามารถเลือกและสั่งยาได้อย่างถูกต้องโดยมีความรู้ในด้านกลไกการออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง ความคุ้มค่า สิทธิ์การรักษา ผลกระทบกับ
ยาอื่น นโยบายของสถานพยาบาล แนวปฏิบัติสากล
๕.๑.๖ การประเมินซ้ำ Patient care 6 (PC6)การประเมินซ้ำ และการย้ายออกจากห้องฉุกเฉิน สามารถสังเกตอาการและการประเมินซ้ำ รวมถึงการปรับเปลี่ยนการวินิจฉัย และการรักษาตามข้อมูลที่ได้ใหม่ สามารถตัดสินใจจำหน่ายผู้ป่วยจากห้องฉุกเฉินอย่างเหมาะสม
๕.๑.๗ การทำงานในลักษณะพหุภารกิจ Patient care 7 (PC7)สามารถทำงานในลักษณะของพหุภารกิจได้
๕.๑.๘ ทักษะในการทำหัตถการฉุกเฉิน Patient care 8 (PC 8)สามารถทำหัตถการอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยที่มีความหลากหลายเช่น ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ มีโรคร่วมจำนวนมาก มีลักษณะทางกายวิภาคที่ผิดปกติไป โดยทราบและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
๕.๑.๙ การดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล Patient care 9 (PC9)เพื่อให้สามารถให้การบริบาลผู้ป่วยก่อนมาถึงโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๕.๒ ความรู้และทักษะเวชกรรม (medical knowledge and skill) MKสามารถทำเวชปฏิบัติได้อย่าง
ครอบคลุมและเหมาะสม
๕.๒.๑ ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ Medical knowledge 1 (MK 1) (Scientific knowledge) สามารถเข้าใจพยาธิสรีรวิทยาของโรคหรือภาวะที่พบในเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
๕.๒.๒ ความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิก Medical knowledge 2 (MK2)ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาและการให้เหตุผลทางคลินิก (clinical reasoning)
๕.๓ การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (systems-based practice)
๕.๓.๑ ความปลอดภัยของผู้ป่วย Systems-based practice 1 (SBP 1)ความปลอดภัยของผู้ป่วย ความสามารถในการวิเคราะห์และบริหารจัดการในด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมถึงการสื่อสารกับญาติ และบุคลากรทางการแพทย์อื่น
๕.๓.๒ ระบบพัฒนาคุณภาพSystems-based practice 2 (SBP 2)การพัฒนาคุณภาพ (quality improvement) สามารถทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพได้
๕.๔ การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ(practice-based learning and improvement)
๕.๔.๑ การใช้เวชปฏิบัติเชิงหลักฐาน Practice-Based learning and improvement 1 (PBLI 1)สามารถนำเอาเวชปฏิบัติเชิงหลักฐานมาใช้ในการปฏิบัติ
๕.๔.๒ การพัฒนาตนเองจากประสบการณ์ทำงานและการสะท้อนการกระทำ Practice - based learning and improvement 2 (PBLI 2)สามารถสะท้อนการกระทำที่ผู้ปฏิบัติสามารถมองเห็นตนเองภายใต้บริบทจากประสบการณ์ของตนเอง ด้วยวิธีการเผชิญ เข้าใจ และแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานของตนเองทั้งที่ต้องการและจากการปฏิบัติจริง (reflective practice and commitment to personal growth)
๕.๕ ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism)รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต (continue medical education) หรือการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (continue professional development)
๕.๕.๑ การทำงานตามหลักจริยธรรมทางการแพทย์ Professionalism 1 (PF 1)professional behavior and ethical principles ทราบหลักการทางจริยธรรมทางการแพทย์ และรู้จักพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวิชาชีพ สามารถบริหารจัดการเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่มีความยากลำบากได้อย่างเหมาะสม
๕.๕.๒ ความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง Professionalism 2 (PF2)
accountability/conscientiousness มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง และผลกระทบต่อ
ผู้ป่วยรวมถึงเพื่อนร่วมงาน และหน่วยงาน
๕.๕.๓ ความสามารถในการพัฒนาตนเอง การดูแลตนเอง Professionalism 3 (PF3)
self-awareness and well-being
๕.๖ ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (interpersonal skills and communication)
๕.๖.๑ การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ Interpersonal and communication skills (ICS1) Patient and family centered communication สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติได้อย่างเหมาะสม
๕.๖.๒ การสื่อสารกับผู้ร่วมงานทุกระดับInterpersonal and communication skills (ICS2) Interprofessional and team communication สามารถสื่อสารกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม